ทำไดชาร์จให้เป็นเจนฯ - กังหันน้ำเกล็ดดาวพลังงานพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน

กังหันน้ำเกล็ดดาวพลังงานที่เลือกได้และพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน
Go to content

Main menu:

ทำไดชาร์จให้เป็นเจนฯ

ไดชาร์จโดยส่วนมากที่มีใช้อยู่ในรถยนต์จะเป็นแบบที่ต้องใช้ไฟเข้าไปเลี้ยงที่ชุดฟีลคอล์ย (field coil) หากเราไม่ต่อกับแบเตอร์รี่  เจนเนอร์เรเตอร์ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าออกมาได้  "ไดชาร์จ"  ที่พบเห็น    โดยทั่วไปซึ่งต้องใช้ร่วมกับแบตเตอร์รี่ถ้าใช้เพียงไดชาร์จอย่างเดียวไม่ได้ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าไม่มีสนามแม่เหล็กในชุดฟีลคอล์ย(Fieldcoil)จึงจำเป็นต้องสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าให้ก่อนโดยการป้อนไฟให้ก่อน ผ่านชุดแปลงถ่าน(Carbon brushes)
               

ที่ยึดติดอยู่กับส่วนที่ไม่เคลื่อนไหวโดยสัมผัสกับส่วนที่เคลื่อนไหวเป็นแบบวงแหวนทองแดงที่เรียกว่า Slip rings สนามแม่เหล็กจะไปหมุนตัดกับชุดขดลวดทองแดงที่เรียกว่า STATOR ก็จะได้กระแสไฟฟ้าแบบเอซี(AC).ซึ่งไม่สามารถนำมาประจุแบตเตอร์รี่ได้ ต้องไปแปลงเป็นไฟดีซีเสียก่อนโดยผ่านชุดไดโอดบริด
                        

ส่วนประกอบต่างๆภายในไดชาร์จ(Car alternator ass.)

ไดชาร์ทโดยส่วนมากที่มีใช้อยู่ในรถยนต์จะเป็นแบบที่ต้องใช้ไฟเข้าไปเลี้ยงที่ชุด field coilหากเราไม่ต่อกับแบตเตอร์รี่ เจนเนอร์เรเตอร์ก็ไม่สามารถที่จะจ่ายกระแสไฟฟ้าออกมาให้เราใช้ได้ ในขณะเดียวกันถ้าเราต้องการได้ไฟมาก เราก็ต้องป้อนไฟเข้าไปเลี้ยงที่ชุดฟีลคอยล์(field coil)มากตามไปด้วย ฉะนั้นทางผู้ผลิตจึงต้องสร้างชุดควบคุม (control unit) หรือเรียกตามประสาช่างโดยทั่วไปว่า "คัตเอ้าว์" ซึ่งจะติดตั้งอยู่ที่ด้านหล้งของเจนฯตัวนั้นโดยปิดอย่างมิดชิด(ตามรูปด้านล่าง)หรือมีชุดควบคุมอยู่ภายนอก ปัจจุบันนี้จะติดตั้งอยู่ภายใน

 สำหรับผมนั้น " Regurator "ตัวนี้แหล่ะคือปัญหาในการทำ " กังหันน้ำ" เนืองจากเรามีน้ำน้อยแต่อยากจะได้ไฟฟ้าที่มากกว่า ก็เลยแก้ปัญหาโดยการถอดรื้อไดชาร์จออกมา แล้วตัดวงจรชุดควบคุม ( Regurator)ออกไป แล้วต่อไฟเข้าโดยตรงที่ชุดแปรงถ่าน (รูปด้านล่างหมายเลข 1และ2 )
                       

ใช้ได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ได้ไฟมากกว่าเดิมประมาณ 1-2 แอมป์ ถือว่ายังน้อยมาก ก็เลยตัดสินใจหาอุปกรณ์ทางด้านเครืองกลเข้ามา โดยหาสวิทช์มาทำการเปิด-ปิด โดยอาศัยหลักการง่ายๆของคอล์ยจุดระเบิดในเครื่องยนต์แก็สโซลีน( เบนซิน )ซึ่งใช้ลูกเบี้ยว( camshaft )มาทำหน้าที่ร่วมกับ " คอนแทคสวิทช์"ทำงานร่วมกับ รีเลย์ (Relay)ที่ใช้ในรถยนต์ทั่วไป แต่ก็ยังมีปัญหาตามมาคือ ต้องเปลี่ยนรีเลย์บ่อยๆที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะหน้าสัมผัสของมันไหม้ สุดท้ายก็ได้พัฒนาดัดแปลงเป็นวงจรอีเลคทรอนิคซึ่งใช้ไอซี 555 มาเป็นพระเอก มาทำหน้าที่แทนในการควบคุมไฟที่ชุด"ฟีลคอล์ย"โดยจะขอเรียกว่า วงจร "PWM"( Pulse Width Modulation )
               

ปรากฏว่าได้ไฟมากกว่าเดิมประมาณ1.5- 2 เท่าคือเดิมได้ไฟ4-5แอมป์ เพิ่มขึ้นไปเป็น9-10 แอมป์ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่ารอบของกังหันน้ำไม่ตก มาถึงตอนนี้หลายท่านคงจะพอเข้าใจ สำหรับผมนั้นยังไม่เป็นที่พอใจ ไม่ละความตั้งใจเดิมว่าจะต้องได้ไฟมากที่สุดและต้องไม่เพิ่มค่าใช้จ่ายในการลงทุนมากนัก ก็เลยคิดว่าจะต้องทำให้รอบของกังหันน้ำตัวนี้เพิ่มมากขึ้น โดยการใช้เกียร์ทดที่ไม่เกิน 1:5 ที่ง่ายที่สุดคือ เกียร์ทดของเครืองซักผ้าชนิดถังเดี่ยว ทดลองทำแบบนี้ผลที่ได้คือ ชุดเกียร์พัง ครับ หมดเงินไป4,000บาทกว่า ทดลองทำ4ชุด ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่ารอบกังหันน้ำของผมเพิ่มขึ้นไปเป็น เกือบ 4,000 รอบ/นาที ได้ไฟมากกว่าเดิมครับประมาณ20แอมป์ การทำเจนฯจากไดชาร์จเหมาะมากสำหรับการทำกังหันน้ำถึงแม้ว่าเราจะต้องป้อนไฟให้ก่อน แต่เราก็ยังมีกำไรมากทีเดียว และที่ดีมากก็ตรงที่ว่าใช้เงินน้อย หาไดชาร์จได้ทั่วไป ร้านขายของเก่าก็มี เขาชั่งขายเป็นกิโลๆละ 30 บาทรวมแล้วร้อยกว่าบาทเท่านั้นเอง หรือสำหรับคนที่อยากได้แบบทันใจ ก็ไปหาซื้อที่ร้านซ่อมไดชาร์จรถยนต์ง่ายดีครับไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ขนาดที่ผลิตไฟมาก ขอแนะนำให้เริ่มต้นที่ขนาด 40-60 แอมป์ก็เพียงพอ การที่เราจะเลือกซื้อขนาดแอมป์สูงเป็นการสิ้นเปลืองเงินโดยใช่เหตุและไม่จำเป็น หากจะทำแบบครั็งเดียวจบเลยขอให้ท่านที่สนใจทำกังหันน็ำได้ถ่ายวิดีโฮขนาดไม่เกิน 15วินาที(หรือตามที่สะดวก ตรงพื้นที่ที่จะทำกังหันน้ำ)ส่งไปที่ email: keerati.s57@gmail.com เพื่อจะได้แนะนำการเลือกซื้อขนาดของเจนเนอร์เรเตอร์ให้เหมาะกับพื้นที่นั้นๆต่อไป โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น สำหรับการทำเจนเนอร์เรเตอร์จากไดชาร์จไม่แนะนำให้ไปใช้กับกังหันลมก็เพราะว่ารอบของไดชาร์จจะสูงและต้องจ่ายไฟไปเลี้ยงฟิลคอล์ย( Field coil )ตลอดเวลาจึงไม่เหมาะ และในทีสุดก็เลยทำแบบง่ายๆใช้ มูเล่ ร่วมกับสายพานอัตตราทดก็ยังคงไว้ไม่เกิน 1:5 หรือท่านจะใช้อัตตราทดที่มากกว่าหรือน้อยกว่าก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่นั้นๆ(ขอให้ท่านเข้าไปอ่านดูต่อใน  กังหันน้ำแบบเกล็ดดาว )
       
***สำหรับวงจรPWMท่านใด..ที่ต้องการหาซื้อได้จากชุดที่ประกอบสำเร็จพร้อมใช้งานของ "FUTURE KIT"(วงจรควบคุมความเร็วมอเตอร์ดีซี)สามารถใช้งานได้ดีเช่นกันครับและราคาถูกด้วย***
** หากนำไดชาร์จไปใช้กับกังหันน้ำที่มีน้ำเหลือใช้ท่านก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้วงจร PWM แต่อย่างใดและขอให้ทราบว่า วงจรนี้ไม่ได้ทำให้ไดชาร์จ ได้ไฟมากกว่าเดิม แต่เป็นเพียงตัวช่วยทำให้ไดชาร์จ ไม่หนืด(จากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า)บางช่วง บางเวลาเท่านั้นเองครับ อย่าได้หลงประเด็นว่า PWMเป็นตัวทำให้เพิ่มกระแสไฟ**
  
หรือหากท่านใดจะเลือกทำไดชาร์จแบบที่ไม่ต้องใช้ชุดควบคุมใดๆเลย ก็เพียงแต่ถอดไดชาร์จออกมาแล้วเอาชุด Rotor(ส่่วนที่หมุนซึ่งอยู่ตรงกลางต่อกับชุดแปลงถ่าน)นำมาติดแม่เหล็กถาวร(ตัวอย่างตามรูปด้านล่าง)ท่านก้จะได้ชุดโรเตอร์แบบแม่เหล็กถาวร แบบนี้ไม่ต้องใช้ไฟจากแบตเตอร์รี่ไปเลี้ยงชุดฟีลคอยล์ก็สามารถผลิตไฟฟ้าได้โดยไม่ต้องใช้แบตเตอร์รี่
                 

   
      
ข้อแนะนำสำหรับการติดแม่เหล็กแรงสูงตามภาพข้างบน " พยายามติดให้มากที่สุดเท่าที่จะติดได้และจัดวางขั้วแม่เหล็กให้ถูกต้อง"และไม่จำเป็นทีจะต้องซื้อของใหม่(ไดชาร์จ)มาทำการดัดแปลงเพราะของใหม่ของเก่าก็ได้ไฟเท่ากันทุกประการ.แล้วทำไมจะต้องเสียเงินมากไปโดยไม่จำเป็น

 
 
free web counter
Counter Web
Back to content | Back to main menu